7 วิธีดูแลลำไส้ ห่างไกลโรคได้ด้วยตัวคุณ

431 Views  | 

7 วิธีดูแลลำไส้ ห่างไกลโรคได้ด้วยตัวคุณ

ดูแลลำไส้อย่างไรให้แข็งแรง ทำไมเราจึงต้องดูแลลำไส้? หลาย ๆ คนอยากมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงแต่ละเลยการดูแลลำไส้ไปทำให้เกิดโรคที่ไม่คาดคิดหรือระบบต่าง ๆ ในร่างกายไม่อาจทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร การดูแลลำไส้สำคัญอย่างไร และมีวิธีใดบ้างที่จะดูแลสุขภาพลำไส้ให้แข็งแรง สามารถหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้

 

ความสำคัญของการดูแลลำไส้

ทำไมเราจึงควรดูแลลำไส้ การดูแลลำไส้เกี่ยวข้องอย่างไรกับการทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง? เมื่อสุขภาพลำไส้ดีย่อมส่งผลให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงตามไปด้วย เนื่องจากลำไส้เป็นอวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่ย่อยอาหาร ดูดซึมสารอาหารเข้าสู่ร่างกาย และส่งกากอาหารต่าง ๆ ออกจากร่างกายอีกด้วย

ดังนั้นการดูแลลำไส้ให้แข็งแรงจึงส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายโดยตรง ตลอดจนระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย ช่วยให้หลีกเลี่ยงโรคทางเดินอาหารต่าง ๆ เช่น โรคลำไส้แปรปรวนได้ คนที่อยากมีสุขภาพแข็งแรงจึงควรให้ความสำคัญต่อการดูแลลำไส้ โดยสามารถทำความรู้จักและเลือกวิธีดูแลลำไส้ที่เหมาะสมกับคุณเองได้

 

7 วิธีดูแลลำไส้ให้แข็งแรง ห่างไกลโรค

วิธีดูแลลำไส้มีหลายวิธี ไมว่าจะเป็นวิธีที่ดูแลลำไส้โดยตรงหรือวิธีที่ช่วยลดภาระการทำงานของลำไส้ โดย 7 วิธีดูแลลำไส้ให้แข็งแรงที่ทำตามได้ไม่ยาก และช่วยให้คุณดูแลลำไส้ได้อย่างมีประสิทธิภาพประกอบไปด้วยวิธีดังต่อไปนี้

 

1.ขับถ่ายให้ถูกวิธี ปรับพฤติกรรมการขับถ่ายของตนเอง

ดูแลลำไส้ให้ดีด้วยการปรับวิธีขับถ่ายให้ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการขับถ่ายตลอดจนท่าทางการขับถ่ายของคุณก็สามารถส่งผลต่อสุขภาพลำไส้ได้ทั้งนั้น ตัวอย่างการขับถ่ายที่ถูกวิธีเช่น

  • ขับถ่ายทันทีเมื่อมีอาการปวด ไม่กลั้นอุจจาระ
  • นั่งในลักษณะเหมือนนั่งยอง ๆ โดยอาจรองเท้าด้วยเก้าอี้เตี้ย ๆ หรือที่วางเท้า
  • ไม่เกร็งขณะขับถ่าย ผ่อนคลายและหายใจเข้าออกให้เป็นปกติ
  • ไม่พยายามเบ่งอุจจาระหากไม่มีอาการปวด

การขับถ่ายให้ถูกวิธีเหล่านี้จะช่วยลดภาระการทำงานของลำไส้ ทำให้ลำไส้ไม่ต้องรับภาระหนักมากเกิน ในกรณีที่ลำไส้ของคุณไม่แข็งแรงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าวจึงช่วยฟื้นฟูลำไส้ และทำให้ลำไส้ของคุณค่อย ๆ กลับมาแข็งแรงดังเดิม

 

2.รับประทานอาหารที่ดีต่อลำไส้ 

การดูแลลำไส้วิธีต่อไปซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากเพราะส่งผลต่อแบคทีเรียในลำไส้โดยตรงคือการรับประทานอาหารที่ดีต่อลำไส้

การรับประทานอาหารที่ดีต่อลำไส้สามารถเลือกรับประทานอาหารได้หลายอย่างเช่นอาหารที่มีจุลินทรีย์ดีอย่าง probiotics เป็นจำนวนมาก เนื่องจากจุลินทรีย์จะช่วยทำให้ Gut Microbiome มีความเหมาะสม มีจำนวนแบคทีเรียดีที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเพียงพอ และช่วยป้องกันไม่ให้แบคทีเรียที่เป็นโทษอาศัยอยู่ในลำไส้อีกด้วย การเพิ่มจุลินทรีย์ในลําไส้โดยการเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อลำไส้จึงมีส่วนช่วยดูแลลำไส้โดยตรง 

นอกจากนี้การรับประทานอาหารที่มี prebiotics ยังช่วยเพิ่มจำนวนแบคทีเรียดีและมีส่วนช่วยเรื่องระบบขับถ่ายและการดูดซึม ทั้งยังช่วยให้อุจจาระอ่อนนุ่ม ซึ่งช่วยลดภาระของลำไส้ และทำให้ลำไส้ไม่ต้องทำงานหนักจนเกินไป เป็นการช่วยดูแลลำไส้ได้อีกทางหนึ่งเช่นกัน


3.ดื่มน้ำให้เพียงพอ

ดูแลลำไส้ด้วยการดื่มน้ำเพียงพอ และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะช่วยให้ลำไส้สามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติ อีกทั้งการดื่มน้ำมาก ๆ ยังมีผลช่วยให้อุจจาระอ่อนตัวลงอีกด้วย เมื่ออุจจาระนิ่มระบบขับถ่ายก็จะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดภาระการทำงานของลำไส้ลง

 

4.ออกกำลังกายเป็นประจำ

การออกกำลังกายเป็นประจำเป็นวิธีการดูแลลำไส้ที่นอกจากจะดูแลลำไส้แล้วยังช่วยดูแลร่างกายส่วนอื่น ๆ อีกด้วย เพราะการออกกำลังกายเป็นประจำจะทำให้กล้ามเนื้อและอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายแข็งแรง ลำไส้เองก็จะแข็งแรงตามไปด้วยและสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างที่ควรจะเป็น จะย่อยอาหารหรือขับถ่ายก็สามารถทำได้อย่างเป็นปกติ

 

5.ผ่อนคลายอารมณ์ ลดความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ

ดูแลลำไส้ให้แข็งแรงโดยการพยายามผ่อนคลาย ไม่เครียด และพักผ่อนให้เพียงพอ จะช่วยให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานอย่างเป็นปกติ เมื่อร่างกายผ่อนคลายและไม่อ่อนล้าก็จะเสี่ยงเป็นโรคต่าง ๆ น้อยลง จึงทำให้ทั้งลำไส้และร่างกายแข็งแรงไปพร้อม ๆ กันได้

 

6.คุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม

ดูแลลำไส้โดยการคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมก็เป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยดูแลสุขภาพลำไส้ได้ เนื่องจากแบคทีเรียในลำไส้ในแต่ละบุคคลนั้นแตกต่างกันไป โดยมีผลการวิจัยพบว่าผู้ที่มีน้ำหนักมากจะมีแบคทีเรียบางชนิดมากกว่าผู้ที่มีน้ำหนักน้อย ดังนั้นการควบคุมน้ำหนักจึงมีผลในการช่วยลดแบคทีเรียดังกล่าวได้ 

 

7.เลี่ยงยาปฏิชีวนะหากไม่จำเป็น และฟื้นฟูสุขภาพลำไส้

วิธีสุดท้ายในการดูแลลำไส้คือการหลีกเลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะหากไม่จำเป็น เนื่องจากยาปฏิชีวนะบางประเภทก็อาจไม่เพียงแต่ทำลายเชื้อโรคในร่างกายเท่านั้น แต่อาจทำลายจุลินทรีย์หรือแบคทีเรียบางชนิดไปด้วย 

ทั้งนี้หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะได้ ก็ควรฟื้นฟูสุขภาพลำไส้โดยการเลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์และหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจเป็นโทษต่อร่างกายหรือลำไส้ เพื่อให้ลำไส้สามารถทำงานได้ดีและฟื้นฟูแบคทีเรียดีในลำไส้ต่อไปนั่นเอง

 

สรุป

การดูแลลำไส้มีส่วนช่วยให้ร่างกายแข็งแรงโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อร่างกาย หรือการลดโอกาสการเกิดโรคต่าง ๆ ดังนั้นหากคุณมองข้ามการดูแลลำไส้ไป แม้ว่าจะดูแลร่างกายอย่างดีแค่ไหนก็อาจส่งผลให้ร่างกายไม่แข็งแรงอย่างที่คุณคิดได้

ดังนั้นคุณจึงควรดูแลลำไส้โดยอาจเลือกใช้วิธีการต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ ในชีวิต ตั้งแต่พฤติกรรมการขับถ่าย พฤติกรรมการรับประทานอาหาร พฤติกรรมการออกกำลังกาย ตลอดจนการหลีกเลี่ยงยาปฏิชีวนะต่าง ๆ แต่หากคุณไม่สามารถใช้บางวิธีได้เช่นไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะได้ก็สามารถดูแลและฟื้นฟูลำไส้ด้วยวิธีอื่น ๆ แทนได้เช่นกัน

This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy