1050 Views |
prebiotics ตัวช่วยเรื่องสุขภาพที่หลาย ๆ คนอาจยังสับสนว่าแตกต่างจาก probiotics ตรงไหน และมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร สามารถหาคำตอบเกี่ยวกับ prebiotics รวมถึงเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ prebiotics ที่จะช่วยให้คุณได้ประโยชน์จาก prebiotics อย่างเต็มประสิทธิภาพได้ในบทความนี้
พรีไบโอติกส์ (prebiotics) คืออาหารของ probiotics ซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นการทำงานและทำให้ probiotics ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ดีต่อร่างกายเจริญเติบโตได้ดีขึ้นและมีปริมาณมากพอที่จะทำให้เรามีสุขภาพแข็งแรง โดยร่างกายเราไม่สามารถย่อยสลาย prebiotics ได้เองผ่านทางระบบทางเดินอาหาร และไม่สามารถดูดซึม prebiotics ได้
ความแตกต่างของ prebiotics และ probiotics คือ
prebiotics เป็นแหล่งอาหารและแหล่งพลังงานของ probiotics
probiotics คือจุลินทรีย์ที่ช่วยสร้างสมดุลให้แก่ลำไส้ และทำให้ร่างกายแข็งแรง
ด้วยความแตกต่างนี้ ทำให้เห็นว่าทั้ง prebiotics และ probiotics มีความสัมพันธ์แบบเกื้อหนุนกัน การรับประทานทั้ง 2 อย่างควบคู่กันจึงสามารถช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกันและรักษาสมดุลของระบบต่าง ๆ ในร่างกายได้เป็นอย่างดี
เนื่องจาก prebiotics เป็นอาหารและแหล่งพลังงานที่ช่วยให้ probiotics เติบโต จึงทำให้ร่างกายได้รับประโยชน์มากขึ้นไปด้วย เช่น
ช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหาร
ช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกัน
ช่วยลดโอกาสเกิดโรคทางเดินอาหารต่าง ๆ
ช่วยลดความดันโลหิต
ช่วยป้องกันโรคผื่นแพ้ผิวหนัง
ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ prebiotics ยังช่วยเสริมการดูดซึมแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น แคลเซียม (Ca) หรือ แมกนีเซียม (Mg) ,ช่วยลดค่า pH ในลำไส้ให้สมดุล และช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลได้อีกด้วย
Prebiotics มักพบในอาหารที่มีเส้นใยมาก เช่น อาหารจำพวกผักและผลไม้ อาหารจำพวกธัญพืชและถั่วต่าง ๆ เป็นต้น ตัวอย่างอาหารที่มี Prebiotics สูง ได้แก่
หอมแดง สมุนไพรมากประโยชน์ มี prebiotics มาก วิตามินสูง มีสารต้านอนุมูลอิสระ และยังมีคุณสมบัติช่วยบรรเทาอากาศท้องแน่นได้ดี
หน่อไม้ฝรั่ง อีกหนึ่งผักที่อุดมไปด้วย prebiotics และสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเรื่องปรับสมดุลลำไส้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กะหล่ำปลี มีสารต้านอนุมูลอิสระและวิตามินซีสูง ควบคู่ไปกับ prebiotics จำนวนมาก จึงช่วยเรื่องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และบำรุงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
กระเทียม หนึ่งในวัตถุดิบคู่ครัวไทย ที่มี prebiotics สูง และยังช่วยป้องกันโรคเกี่ยวกับหัวใจ หลอดเลือด รวมไปถึงโรคมะเร็งได้อีกด้วย
กล้วย ผลไม้รสหวานหาทานง่าย ที่มีใยอาหารสูง มี prebiotics ปริมาณมาก และมีวิตามินมากมาย
แอปเปิ้ล ผลไม้ที่พบเจอได้ทั่วไป มี prebiotics สูง วิตามินมากมาย และยังมีสารต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย จึงเป็นที่นิยมในหมู่คนรักสุขภาพและความงาม
ถั่วเหลือง อุดมไปด้วยโปรตีน กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย และ prebiotics ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด และป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากได้
ถั่วแดง มีสารอาหารหลากหลายทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และวิตามิน ทั้งยังมี prebiotics สูง จึงมีส่วนช่วยทั้งการลดคอเลสเตอรอลในเลือด เสริมความจำ และลดความอยากอาหารได้ดี
ข้าวโอ๊ต อุดมไปด้วยโปรตีนและกรดอะมิโนต่าง ๆ ควบคู่ไปกับ prebiotics จำนวนมาก เป็นอีกหนึ่งทางเลือกเพื่อสุขภาพที่คนนิยมรับประทาน
การรับประทาน prebiotics ให้ดีต่อร่างกาย สามารถเลือกรับประทานได้ทุกช่วงเวลา แต่ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดคือช่วงเวลากลางวัน เนื่องจากการลำไส้จะทำงานได้ดีที่สุดในช่วงเวลากลางวัน ในขณะที่จะทำงานน้อยลงมากในเวลานอน จึงไม่ควรรับประทาน prebiotics ก่อนนอน นอกจากนี้การรับประทาน prebiotics ให้เกิดผลดีต่อร่างกายควรรับประทานร่วมกับอาหารอื่น ๆ เช่น อาหารที่มี probiotics ด้วยจึงจะได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น
Prebiotics คืออาหารและแหล่งพลังงานของ probiotics ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ดีที่ช่วยรักษาสมดุลระบบต่าง ๆ ในร่างกาย และป้องกันโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารต่าง ๆ ได้ การรับประทาน prebiotics ให้เกิดประโยชน์จึงควรรับประทานควบคู่กันไปกับ probiotics
แหล่งอาหารที่สามารถพบ prebiotics จำนวนมากได้คืออาหารที่มีเส้นใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ ถั่วต่าง ๆ และ ธัญพืช ทั้งนี้การรับประทาน prebiotics จะไปช่วยเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ในร่างกาย ดังนั้นจึงอาจไม่เหมาะสำหรับคนที่มีอาการลำไส้แปรปรวนหรือมีปริมาณจุลินทรีย์ในลำไส้มากอยู่แล้ว โดยช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการรับประทาน prebiotics คือช่วงเวลากลางวันที่ลำไส้ทำงานอย่างเต็มที่ และรับประทานพร้อมกับอาหารอื่น ๆ โดยเฉพาะอาหารที่มี probiotics สูง
สำหรับท่านที่สนใจสาระน่ารู้ดี ๆ แบบนี้ สามารถกดติดตามเพจ Jpogene เพื่อไม่ให้พลาดทุกบทความสุขภาพและนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่จะช่วยให้คุณมีสุขภาพแข็งแรงได้ไม่ยาก
Reference:
Justin L Carlson, Jennifer M Erickson, Beate B Lloyd, and Joanne L Slavin. Health Effects and Sources of Prebiotic Dietary Fiber. Available from : https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6041804/pdf/nzy005.pdf
Department of Gastroenterology. “Prebiotic diet - FAQs”. Available from: https://www.monash.edu/medicine/ccs/gastroenterology/prebiotic/faq
Victoria Peck-Gray, RD. When is the Best Time to Take Prebiotics?. Available from: https://www.takecareof.com/articles/when-to-take-prebiotics